หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล
ปกติ
เราจะใช้เทคนิคทาง RS ในการหา
ข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ( spatial or geographic data)
ที่ต้องการ ก่อนจะนำข้อมูลนั้นมาผ่านการประมวลผล
เพื่อหาสิ่งที่ต้องการศึกษาต่อไป โดยในการนี้ เราอาจใช้เทคนิคทาง GIS เข้ามาช่วยด้วยโดยผังการทำงานพื้นฐานของระบบ
RS ร่วมกับ GIS จะเป็นดังนี้
ด้วยเหตุนี้ การศึกษาทาง ภูมิสารสนเทศ
(geoinformatics) จะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วนหลัก คือ
1. การตรวจวัดจากระยะไกล (remote sensing)
2. การวิเคราะห์และแปลข้อมูลภาพ (image processing)
3. GIS
Application
จะเห็นได้ว่า ผังการทำงาน
พื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. การได้มาซึ่งข้อมูล (data acquisition)
2. การประมวลผลข้อมูล (data
processing) และ
3. การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล
(data presentation and database management)
4.
การประยุกต์ใช้ข้อมูลร่วมกับเทคนิคทาง GIS (GIS-based
data application)
ในส่วนของ การได้มาซึ่งข้อมูล
จะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ
1.
แหล่งข้อมูล (source) ในที่นี้
หมายถึง พื้นที่เป้าหมาย ของการสำรวจ ซึ่งอาจอยู่บนผิวโลกหรือในบรรยากาศ
ของโลกก็ได้ แต่ที่สำคัญ ต้องเป็นเขตที่สามารถ สร้างหรือสะท้อน
สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM Wave)
ออกมาได้
สำหรับเป็นสื่อในการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่
2. เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล (remote sensor) เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งออกมาจากพื้นที่เป้าหมาย แยกตามช่วงคลื่นที่เหมาะสม
โดยมันมักถูกมักติดตั้งไว้บนเครื่องบิน บอลลูน หรือ บนดาวเทียม
ทำให้สามารถสำรวจผิวโลกได้เป็นพื้นที่กว้าง โดยข้อมูลที่ได้มักจัดเก็บไว้ในรูปของ
ภาพอนาลอก (analog image) หรือ ภาพเชิงตัวเลข (digital
image) เช่น ภาพดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับในส่วนของ การประมวลผลข้อมูล
จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
1. การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล (data enhancement and correction) เป็นการปรับแก้ข้อมูลให้มีความถูกต้อง
และเหมาะสมสำหรับการประมวลผลมากยิ่งขึ้น โดยการปรับแก้จะแบ่งเป็น 2 แบบ หลัก คือ
1.1
การปรับแก้ ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (radiometric
correction) และ
1.2
การปรับแก้ความ คลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (geometric correction)
ของภาพที่ใช้
2. การวิเคราะห์และแปลข้อมูล (data analysis and interpretation) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ผลการศึกษาออกมาตามที่คาดหวัง
ที่สำคัญคือเทคนิค การจำแนกองค์ประกอบ (classification) ของภาพดาวเทียม
หรือ ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น
การวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม แบ่งกว้างๆ ได้ 2 วิธี คือ
1. การแปลภาพด้วยสายตา
2.
การวิเคราะห์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับในส่วนของ การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนของการเผยแพร่ผลการศึกษาต่อกลุ่มเป้าหมาย
รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลและผลการศึกษาดังกล่าว สำหรับใช้เป็น ฐานข้อมูล
ของงานในอนาคต ในรูปของผลิตภัณฑ์สารสนเทศ
(IT product) เช่น บันทึก รายงาน หรือ สิ่งตีพิมพ์
เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย
คือการนำเอาข้อมูลและผลการศึกษาที่ได้จากกระบวนการทาง RS ไปใช้
ในการศึกษาวิจัยอื่น ๆ โดยใช้เทคนิคทาง GIS (Geographic Information
System) เข้ามาช่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น