วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พัฒนาการของระบบการตรวจวัดจากระยะไกล

พัฒนาการของระบบการตรวจวัดจากระยะไกล
โดยทั่วไป เราสามารถแบ่ง พัฒนาการ ของระบบ
RS ออกได้เป็น 2 ช่วงหลักคือ
ช่วงก่อนปี ค.ศ.1960
เรียกว่าเป็นยุคของ การสำรวจทางอากาศ โดยมี เครื่องบินและบอลลูน เป็นสถานีติดตั้งทีสำคัญสำหรับเทคนิคการตรวจวัดที่ใช้งานกันมากที่สุดคือ การถ่ายภาพทางอากาศ (aerial photography)
                 ช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา 
เรียกว่าเป็นยุคของ การสำรวจจากอวกาศ (space age) หรือ ยุคดาวเทียม เนื่องจาก อุปกรณ์การตรวจวัดที่สำคัญมักจะติดตั้งไว้บน ดาวเทียม ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกที่ระดับความสูงต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบของระบบ RS
สามารถ จำแนก องค์ประกอบของระบบตรวจวัดจากระยะไกลออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1.  แหล่งข้อมูลของการตรวจวัด (Sources) :ในที่นี้คือ พื้นผิวและบรรยากาศของโลก
2.  อุปกรณ์การตรวจวัดจากระยะไกล (Remote Sensor) : ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ
3.  ระบบการประมวลผลข้อมูล (Data Processing System) : ใช้ผู้ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์

ลำดับการพัฒนาของ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ RS ในช่วง ค.ศ. 1860-1960


ลำดับการพัฒนาของ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ RS ในช่วง ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน


หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล

หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล

ปกติ เราจะใช้เทคนิคทาง RS ในการหา ข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ( spatial or geographic data) ที่ต้องการ ก่อนจะนำข้อมูลนั้นมาผ่านการประมวลผล เพื่อหาสิ่งที่ต้องการศึกษาต่อไป โดยในการนี้ เราอาจใช้เทคนิคทาง GIS  เข้ามาช่วยด้วยโดยผังการทำงานพื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะเป็นดังนี้  


 ด้วยเหตุนี้ การศึกษาทาง ภูมิสารสนเทศ (geoinformatics) จะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วนหลัก คือ
1. การตรวจวัดจากระยะไกล  (remote sensing)
2. การวิเคราะห์และแปลข้อมูลภาพ (image processing)
3. GIS Application
จะเห็นได้ว่า ผังการทำงาน พื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้  
1. การได้มาซึ่งข้อมูล (data acquisition) 
2. การประมวลผลข้อมูล  (data processing) และ
3. การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล (data presentation and database management)
4. การประยุกต์ใช้ข้อมูลร่วมกับเทคนิคทาง GIS (GIS-based data application)


     ในส่วนของ การได้มาซึ่งข้อมูล จะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ  
1.  แหล่งข้อมูล (source) ในที่นี้ หมายถึง พื้นที่เป้าหมาย ของการสำรวจ ซึ่งอาจอยู่บนผิวโลกหรือในบรรยากาศ ของโลกก็ได้ แต่ที่สำคัญ ต้องเป็นเขตที่สามารถ สร้างหรือสะท้อน สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM Wave)  ออกมาได้ สำหรับเป็นสื่อในการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ 
2. เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล (remote sensor) เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งออกมาจากพื้นที่เป้าหมาย แยกตามช่วงคลื่นที่เหมาะสม โดยมันมักถูกมักติดตั้งไว้บนเครื่องบิน บอลลูน หรือ บนดาวเทียม ทำให้สามารถสำรวจผิวโลกได้เป็นพื้นที่กว้าง โดยข้อมูลที่ได้มักจัดเก็บไว้ในรูปของ ภาพอนาลอก (analog image) หรือ ภาพเชิงตัวเลข (digital image) เช่น ภาพดาวเทียม เป็นต้น
       สำหรับในส่วนของ การประมวลผลข้อมูล จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
1. การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล (data enhancement and correction) เป็นการปรับแก้ข้อมูลให้มีความถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับการประมวลผลมากยิ่งขึ้น โดยการปรับแก้จะแบ่งเป็น 2 แบบ หลัก คือ
1.1 การปรับแก้ ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (radiometric correction) และ
1.2 การปรับแก้ความ คลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (geometric correction) ของภาพที่ใช้
2. การวิเคราะห์และแปลข้อมูล (data analysis and interpretation) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ผลการศึกษาออกมาตามที่คาดหวัง ที่สำคัญคือเทคนิค การจำแนกองค์ประกอบ (classification) ของภาพดาวเทียม หรือ ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น

      การวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม แบ่งกว้างๆ ได้ 2 วิธี คือ
1. การแปลภาพด้วยสายตา
2. การวิเคราะห์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

        สำหรับในส่วนของ การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนของการเผยแพร่ผลการศึกษาต่อกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลและผลการศึกษาดังกล่าว สำหรับใช้เป็น ฐานข้อมูล ของงานในอนาคต   ในรูปของผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (IT product) เช่น บันทึก รายงาน หรือ สิ่งตีพิมพ์ เป็นต้น

       ขั้นสุดท้าย คือการนำเอาข้อมูลและผลการศึกษาที่ได้จากกระบวนการทาง RS  ไปใช้ ในการศึกษาวิจัยอื่น ๆ โดยใช้เทคนิคทาง GIS (Geographic Information System) เข้ามาช่วย

คุณสมบัติภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร

คุณสมบัติภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
1. การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง(Synopic View)
2. การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น
3. การบันทึกภาพบริเวณเดิม(Repetitive Coverage)
4. การให้รายละเอียดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ
5. การให้ภาพสีผสม(False Color Composite)
สีแดง(R)               +             สีเขียว(G)                              =             สีเหลือง(Yellow)
สีแดง(R)               +             สีน้ำเงิน(B)                          =             สีม่วงแดง(Magenta)
สีน้ำเงิน(B)          +             สีเขียว(G)                              =             สีฟ้า(Cyan)
สีน้ำเงิน(B)          +             สีเขียว(G) + สีแดง(R)       =            สีขาว(White)
สีเหลือง(Y)          +             สีม่วงแดง(M)+สี ฟ้า(C)    =            สีดำ(Black)
6. การเน้นคุณภาพของภาพ(Image Enhancement) มี 2 วิธี คือ การขยายค่าความเข้มระดับสีเทาให้กระจายจนเต็มช่วงเรียกว่า Linear Contrast Stretch และ Non - Linear Contrast Stretch โดยให้มีการกระจายข้อมูลของภาพจากดาวเทียมในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนจุดภาพใกล้เคียงกัน เรียกว่า Histogram Equalization Stretch


 ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัด จะเก็บไว้ในรูปของ ข้อมูลภาพ (image data) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท หลัก คือ
     1.  ข้อมูลอนาลอก (analog data) คือ ข้อมูลที่แสดงความเข้มของรังสีซึ่งมีค่า ต่อเนื่อง ตลอดพื้นที่ที่ศึกษา เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ (ซึ่งยังไม่ถูกแปลงเป็นภาพดิจิตอล) และ
     2.  ข้อมูลเชิงตัวเลข  (digital data) คือ ข้อมูลแสดงความเข้มของรังสี ซึ่งถูก แบ่ง ออกเป็นระดับ (level)  ย่อย ๆ ในการจัดเก็บ  เรียกว่าค่า บิท (bit) โดย ข้อมูล n บิท จะแบ่งเป็น 2n ระดับความเข้ม ทั้งนี้ภาพทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็น 256 ระดับความเข้ม (เรียกว่าเป็นข้อมูล 8 บิท)

ทั้งนี้ข้อมูล เชิงตัวเลข ที่ได้การตรวจวัดจากระยะไกล มักถูกเก็บไว้ใน 2 รูปแบบ ที่สำคัญคือ
     1. ในรูปของ ภาพเชิงตัวเลข (digital image)  เช่นภาพดาวเทียมส่วนใหญ่ที่เห็น ซึ่งมันจะแบ่งพื้นที่การเก็บข้อมูลบนภาพ ออกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวนมาก เรียกว่า เซลล์ภาพ  (pixel) ซึ่งแต่ละชิ้น จะเป็นตัวแทนพื้นที่ในกรอบการมอง แต่ละครั้ง บนผิวโลกของเครื่องตรวจวัด หรือ
     2. ในรูปของ แฟ้มข้อมูลเชิงตัวเลข (digital file) ใน 3 มิติ สำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ต่อไป


         ในกรณีหลังนี้ มักพบในการศึกษาชั้นบรรยากาศจากระยะไกล (
atmospheric RS) โดยข้อมูลเชิงตัวเลขที่เก็บไว้มักอ้างอิงเทียบกับ ตำแหน่งและความสูง ของตำแหน่งที่ตรวจวัดจากผิวโลก ทำให้ได้เป็นแฟ้มข้อมูลใน 3 มิติ (3-D data) ออกมา สำหรับใช้ในการประมวลผลต่อไป

        ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลภาพ แบบอนาลอก (ต่อเนื่อง) และ แบบดิจิตอล (ไม่ต่อเนื่อง)



แต่หากเราพิจารณาตามลักษณะของรังสีที่ เครื่องตรวจวัด วัดได้ดี จะแบ่งการตรวจวัดได้เป็น
2 แบบ คือ
1.   การตรวจวัดแบบแพสซีฟ (Passive RS) หรือ แบบเฉื่อย
เครื่องตรวจวัดในกลุ่มนี้  จะคอยวัดความเข้มของรังสีที่แผ่ออกมาจากวัตถุ หรือ ของแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากตัววัตถุเท่านั้น  แต่มันจะ ไม่มี การสร้างสัญญาณขึ้นมาใช้เอง ตัวอย่างของอุปกรณ์ในกลุ่มนี้มีเช่น พวกกล้องถ่ายภาพทางอากาศ  หรือ เครื่องกวาดภาพของดาวเทียม Landsat   เครื่องตรวจวัด แบบแพสซีฟ จะมีทั้งแบบที่วัดรังสีในช่วงคลื่นของแสงขาว (visible light) อินฟราเรด (IR)   และ ช่วงไมโครเวฟ (microwave)

2.
   การตรวจวัดแบบแอกทีฟ (Active RS) หรือ แบบขยัน
เครื่องตรวจวัดในกลุ่มนี้ จะวัดความเข้มของสัญญาณที่ตัวมันเอง สร้างและส่งออกไป ซึ่งสะท้อนกลับมาจากตัววัตถุเป็นหลัก โดยอุปกรณ์สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ พวกเรดาร์  ไลดาร์ และ โซนาร์  เครื่องตรวจวัดแบบแอกทีฟจะทำงานในช่วงไมโครเวฟเป็นหลัก และจะทำงานได้ ตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน





ประโยชน์ของการตรวจวัดจากระยะไกล

ประโยชน์ของการตรวจวัดจากระยะไกล

การตรวจวัดจากระยะไกลมี ข้อดี อยู่หลายประการ ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการศึกษาองค์ประกอบและ โครงสร้างของบรรยากาศและพื้นผิวโลก ทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับโลก อาทิเช่น
1.  ตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ได้เป็น บริเวณกว้าง ในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะการตรวจวัดจากอวกาศ   ทำให้มองภาพรวมได้ง่าย และได้ข้อมูลที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์
2.  ตรวจวัดได้ใน หลายระดับ ของ ความละเอียด ทั้งความละเอียดเชิงพื้นที่และความละเอียดเชิงรังสี  ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์ และระดับความสูงของสถานีติดตั้ง เป็นสำคัญ
3.  ตรวจวัดได้ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน โดยเฉพาะการตรวจวัดในช่วง เทอร์มอลอินฟราเรด และ ไมโครเวฟ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แสงอาทิตย์ช่วยในการสำรวจ
4.  ตรวจวัดได้ใน หลายช่วงคลื่น ไม่เฉพาะในช่วงแสงขาวที่ตาเรามองเห็นเท่านั้น ทำให้ได้ข้อมูล เกี่ยวกับวัตถุหรือพื้นที่ที่ศึกษา มากกว่าที่เรารับรู้ตามปกติมาก
5.  ตรวจวัดข้อมูลในพื้นที่ ที่เข้าถึงทางพื้นดินลำบาก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ต้องการเพียงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มาจากพื้นที่ที่ศึกษา เท่านั้นในการทำงาน

สำหรับ ข้อด้อย ของการตรวจวัดจากระยะไกล ที่เห็นได้ชัดมีอาทิเช่น
1.  ต้องใช้ งบลงทุน ในเบื้องต้นและงบดำเนินการสูง โดยเฉพาะในการจัดหาสถานีติดตั้งและการสร้าง อุปกรณ์ตรวจวัด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
2.  ต้องใช้ บุคลากร ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องการผู้ที่มีความรู้พื้นฐานที่ดีมากพอสำหรับการ บริหารจัดการ ระบบและการ ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ได้
3.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังขาด ความละเอียด เชิงพื้นที่มากพอ เนื่องมาจากเป็นการสำรวจจากระยะไกล   ทำให้การศึกษาในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดอยู่มากพอควร
4.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังมี ความคลาดเคลื่อน อยู่สูง ซึ่งเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งส่วนที่เกิดมาจากความบกพร่องของตัวระบบเอง และส่วนที่เกิดมาจากสภาวะแวดล้อมขณะทำการตรวจวัด

สำหรับแนวทาง การใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจวัดระยะไกล
1.   การสำรวจทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา (Archaeology and Anthropology Study)    ที่สำคัญคือ การสำรวจ ที่ตั้ง ของแหล่งโบราณสถาน ในพื้นที่ซึ่งยากต่อการเข้าถึงทางพื้นดิน รวมถึงที่อยู่ ใต้ผิวดินไม่ลึกมากนัก โดยมักใช้ข้อมูลที่ได้จากเรดาร์และเครื่องวัดการแผ่รังสีช่วง IR
    
 ภาพถ่ายทางอากาศของ นครวัด (Angkor Wat) ประเทศกัมพูชา ในปี ค.ศ.1999


ภาพของ นครวัด (Angkor Wat) ประเทศกัมพูชา จากดาวเทียม JERS-1 ในปี ค.ศ.1995


2.    การรังวัดภาพและการทำแผนที่ (Photogrammetry and Cartography)    ที่สำคัญคือการทำ แผนที่แสดง ลักษณะภูมิประเทศ (topographic map) และ แผนที่แสดง ข้อมูลเฉพาะอย่าง (thematic map) ซึ่งมักต้องใช้เทคนิคทาง GIS เข้ามาช่วยด้วย

ตัวอย่างภาพเรดาร์แสดง ลักษณะภูมิประเทศ (topographic image) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย


3.     การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Survey) 
ที่สำคัญคือ การสำรวจโครงสร้างชั้นดินและชั้นหิน การสำรวจแหล่งแร่ การสำรวจแหล่งน้ำมัน  การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน และ การสำรวจพื้นที่เขตภูเขาไฟและเขตแผ่นดินไหว
4.     การศึกษาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ที่สำคัญคือ การศึกษาพื้นที่ (site study) การวางผังระบบสาธารณูปโภค (infrastructure planning)   และ การวางแผนจัดระบบการขนส่งและการจราจร (transport and traffic planning)
5.  การศึกษาในภาคเกษตรและการจัดการป่าไม้ (Agricultural and Forestry Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินภาคเกษตร  การสำรวจคุณภาพดิน  การสำรวจความสมบูรณ์ของพืชพรรณ และ การตรวจสอบการใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ตามเวลา

ตัวอย่างภาพดาวเทียมแสดง ลักษณะภูมิประเทศ และความสมบูรณ์ของ พืชพรรณ ในสหรัฐอเมริกา


6.   การวางผังเมือง (Urban planning)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมือง  การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตเมือง และการออกแบบพื้นที่เชิงภูมิสถาปัตย์ (landscape modeling) เป็นต้น

ตัวอย่างภาพสีธรรมชาติจากเครื่อง Landsat/TM แสดง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป


7.   การศึกษาแนวชายฝั่งและมหาสมุทร (Coastal and Oceanic Study) 
ที่สำคัญมีอาทิเช่น  การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพและขนาดของเขตชายฝั่ง การจัดการพื้นที่ชายฝั่ง  และ  การศึกษาคุณสมบัติเชิงกายภาพและเชิงเคมีของน้ำทะเลระดับบน เช่น อุณหภูมิหรือความเค็ม เป็นต้น

ภาพแสดงลักษณะชายฝั่งอ่าวไทยรูปตัว ก


8.   การติดตามตรวจสอบภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น น้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว การเกิดไฟป่า หรือ การเกิดไฟในแหล่งถ่านหินใต้ผิวดิน (subsurface coal fires) เป็นต้น



9.  การสำรวจบรรยากาศและงานวิจัยทางอุตุนิยมวิทยา (Atmospheric and Meteorological Study)
ที่สำคัญมีอาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงสั้น  การศึกษาองค์ประกอบของอากาศที่ระดับความสูงต่าง ๆ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ โอโซน รวมไปถึง การตรวจสอบการแปรปรวนของอากาศระดับล่าง เช่น การเกิดพายุขนาดใหญ่ หรือ พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น

ภาพดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่น Imbudo ซึ่งเกิดในเขตทะเลจีนใต้  ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2546



ตัวอย่างข้อมูล ปริมาณน้ำฝน ใน 3 มิติ ของพายุไต้ฝุ่น Sinlaku ที่ได้จากดาวเทียม TRMM



     ข้อมูลของ ชั้นโอโซน ในแถบขั้วโลกใต้ เปรียบเทียบ ระหว่างปี ค.ศ.2000, 2002 และ 2003 จากเครื่อง TOMS

10.  การหาข้อมูลเพื่อภารกิจทางทหาร (Military Services)
ที่สำคัญคือ การถ่ายภาพจากทางอากาศด้วยเครื่องบินสอดแนม (spy plane)  และ การสำรวจพื้นที่ที่สนใจ โดยใช้เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพสูงบนดาวเทียม

ภาพของเขตพระราชวังในกรุง Baghdad ประเทศ อิรัก ก่อนถูกโจมตีโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา


ความหมายของคำว่า “Remote Sensing”

การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) หรือการสำรวจข้อมูลระยะไกล (การรับรู้ระยะไกล) เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2503 หมายถึง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่บันทึกคุณลักษณะของวัตถุ (Object) หรือปรากฎการณ์ (Phenomena) ต่างๆ จากการสะท้อนแสง/หรือ การแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) โดยเครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ  การใช้รีโมตเซนซิงเริ่มแพร่หลายนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรก LANDSAT-1 ขึ้นใน พ.ศ.2515
เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้น ๆ คือ วัตถุแต่ละชนิด จะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกันคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น(Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal) รีโมตเซนซิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนก และเข้าใจวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสงหรือแผ่รังสี

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำ ที่เรียกว่า รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image)

ความหมายของคำว่า
“Remote Sensing”  

“Remote Sensing” เป็นศาสตร์ของการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของพื้นผิวโลกและบรรยากาศโลกจากระยะไกล โดยอาศัยอุปกรณ์การตรวจวัด ซึ่งใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น กล้องถ่ายภาพทางอากาศ หรือ เครื่องกวาดภาพ ที่ติดตั้งไว้บนดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับชื่อเรียกคำนี้ใน ภาษาไทย ที่นิยมใช้กันมาก มีอยู่ 4 แบบ คือ
1. การรับรู้จากระยะไกล (ราชบัณฑิตฯ)      
2. การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล
3. การตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล
4. โทรสัมผัส



คำจำกัดความของ “Remote Sensing”

สำหรับ คำจำกัดความ ของคำนี้ ที่เป็น ภาษาไทย คือ
1.  วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์ จากเครื่องบันทึกข้อมูล    โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ ในการได้มาของข้อมูล   (สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ 2536)

สำหรับคำจำกัดความซึ่งเป็น ภาษาอังกฤษ ของ คำว่า
“Remote Sensing”คือ
1.  The acquisition of physical data of an object without touch or contact. (กว้างที่สุด)
2.  Science of acquiring, processing and interpreting images that record the interaction between electromagnetic energy and matter.
3.  The instrumentation, techniques and methods to observe the Earth’s surface at a distance and to interpret the images or numerical values obtained in order to acquire meaningful  information of particular object on Earth.

4.  Science and art of obtaining information about an object, area, or phenomenon through the analysis of data acquired by a device that is not in contact with the object, area or phenomenon under investigation.

แหล่งอ้างอิง
http://yingpew103.wordpress.com/2013/01/18/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3/